เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 1. สีหนาทสูตร
กำลังของตถาคต 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ตถาคตรู้ชัดฐานะ1โดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะในโลกนี้ตาม
ความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็น
อฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
2. ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึด
ถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันโดยฐานะ โดยเหตุตามความ
เป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
3. ตถาคตรู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวง2ตามความเป็นจริง การที่ตถาคต
รู้ชัดปฏิปทาที่ให้ถึงภูมิทั้งปวงตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคต
ที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศ
พรหมจักรในบริษัท
4. ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด3 มีธาตุที่แตกต่างกัน4ตามความเป็นจริง
การที่ตถาคตรู้ชัดโลกที่มีธาตุหลายชนิด มีธาตุที่แตกต่างกันตามความ
เป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ
บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

เชิงอรรถ :
1 ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุและปัจจัย ที่เรียกว่า “ฐานะ” เพราะเป็นแดนตั้งขึ้น เกิดขึ้น และเป็นไปแห่งผล
(องฺ.ทสก.อ. 3/21/328)
2 ภูมิทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงคติที่ควรไป(คติ) และคติที่ไม่ควรไป(อคติ) (องฺ.ทสก.อ. 3/21/328)
3 ธาตุหลายชนิด ในที่นี้หมายถึงธาตุ 18 มีจักขุธาตุเป็นต้น (องฺ.เอกก.อ. 1/577/473) และดู อภิ.วิ. 35/
185/105, วิสุทธิ. 3/65
4 ธาตุที่แตกต่างกัน หมายถึงธาตุที่มีลักษณะต่างกัน (องฺ.ทสก.อ. 3/21/329, อภิ.วิ.อ. 760/429)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :44 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 3. มหาวรรค 1. สีหนาทสูตร
5. ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง การที่
ตถาคตรู้ชัดว่าหมู่สัตว์เป็นผู้มีอัธยาศัยต่างกันตามความเป็นจริง นี้เป็น
กำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักรในบริษัท
6. ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่น และบุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและ
อินทรีย์อ่อน ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดว่าสัตว์เหล่าอื่น และ
บุคคลเหล่าอื่นมีอินทรีย์แก่กล้าและอินทรีย์อ่อนตามความเป็นจริง นี้
เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือ
สีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
7. ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง1 ความผ่องแผ้ว2 แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ
และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ3ตาม
ความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว แห่งฌาน
วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้ว
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท

เชิงอรรถ :
1 ความเศร้าหมอง หมายถึงธรรมฝ่ายเสื่อม ได้แก่ กาม วิตก วิจาร และปีติ เป็นต้น ที่เป็นอุปสรรคต่อการ
เจริญฌานตามลำดับขั้นของผู้ที่มีฌานยังไม่คล่องแคล่ว (องฺ.ทสก.อ. 3/21/329,องฺ.ทสก.ฏีกา 3/21/
392) และดู องฺ.นวก. 23/41/362-369
2 ความผ่องแผ้ว หมายถึงธรรมฝ่ายเจริญ ได้แก่ การสงัดจากกาม การระงับวิตกวิจาร การจางคลายไปแห่ง
ปีติเป็นต้น ซึ่งเป็นคุณต่อการเจริญฌานให้ยิ่งขึ้นไปของผู้ที่มีฌานคล่องแคล่ว (องฺ.ทสก.อ. 3/21/329,
องฺ.ทสก.ฏีกา 3/21/392) และดู องฺ.นวก. 23/41/362-369
3 ในคำว่า “ฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ” นี้ ฌาน หมายถึงฌาน 4 (ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
และจตุตถฌาน) (องฺ.ทสก.อ. 3/21/329) วิโมกข์ หมายถึงวิโมกข์ 8 (องฺ.ทสก.อ. 3/21/329) และ
ดู องฺ.อฏฺฐก. 23/119/289 สมาธิ หมายถึงสมาธิ 3 คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีวิตกและวิจาร)
อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีวิตกมีเพียงวิจาร) อวิตักกาวิจารสมาธิ (สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกและวิจาร)
(ขุ.ป. 31/43/50) สมาบัติ หมายถึงอนุปุพพสมาบัติ 9 คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญา-
เวทยิตนิโรธ 1 (องฺ.ทสก.อ. 3/21/329) และดู องฺ.นวก. 23/32/336, อภิ.วิ. 35/828/417-419

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :45 }